อริยสัจ: ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ

เริ่มบันทึกในปี พ.ศ. 2566

ต่อให้สรรพสิ่งจะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหน แต่ความจริงไม่มีวันเปลี่ยน 

 

ความจริง.. 

จากคำบอกเล่าของพระพุทธเจ้า 

 

ความจริง #1ชีวิตเป็นทุกข์ (ความไม่รู้ทุกข์)

ศึกษา "ชีวิต" ได้ ☞ที่นี่

พระพุทธเจ้าค้นพบความจริงที่ว่า ชีวิต ประกอบด้วย 1) ระบบร่างกาย 2) ระบบความรู้สึก 3) ระบบความจำ 4) ระบบความคิดปรุงแต่ง และ 5) ระบบการรับรู้

และยังพบอีกว่า "ชีวิตเป็นทุกข์"

คำว่า "ทุกข์" ในความหมายของพระพุทธเจ้าไม่ได้หมายถึงความรู้สึกบีบคั้นในจิตที่เราไม่อยากจะประสบและพยายามผลักไสมันออกไป  

แต่ "ทุกข์" เป็นคำคุณศัพท์ (adjective; คำขยายคำนาม) ที่มีความหมายว่า ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้

ซึ่งสภาวะที่ไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้มีอยู่สองนัย คือ 1) เปลี่ยนแปลง และ 2) แตกสลาย  

  
ชีวิตเป็นทุกข์ = ชีวิตไม่สามารถคงอยู่ในสภาพเดิมได้ = ชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

+ 

ชีวิต = ระบบร่างกาย + ระบบความรู้สึก + ระบบความจำ + ระบบความคิดปรุงแต่ง + ระบบการรับรู้

 =

ระบบร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

ระบบความรู้สึกมีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

ระบบความจำมีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

ระบบความคิดปรุงแต่งมีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

ระบบการรับรู้มีการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

...นี่คือความจริงที่พระพุทธเจ้าต้องการบอกพวกเรา...

ระบบร่างกาย 

การเปลี่ยนแปลงของระบบร่างกายอยู่ในรูปของสิ่งที่มนุษย์เราเรียกกันว่า "ความแก่" และ "ความเจ็บป่วย / เป็นโรค" นอกจากนี้มันยังหมายรวมถึง "ความปวด" "ความเมื่อย" "ความแสบ" "ความคัน" 

ส่วนการแตกสลายของระบบร่างกายก็คือสิ่งที่เราเรียกกันว่า "ความตาย" นั่นเอง

ระบบความรู้สึก ระบบความจำ ระบบความคิดปรุงแต่ง และระบบการรับรู้

เป็นระบบที่มีสภาพเป็นนามธรรม เราไม่สามารถรับรู้ระบบเหล่านี้ได้ด้วยตาเปล่า (แล้วเวลาเรารับรู้ความรู้สึกกับความคิดเราใช้อะไรเป็นตัวรับรู้ วิญญาณขันธ์เหรอ, แล้วจิตคืออะไร จิต = เวทนา+สัญญา+สังขาร+วิญญาณ หรือ จิต = วิญญาณขันธ์+เวทนา / วิญญาณขันธ์+สัญญา / วิญญาณขันธ์+สังขาร / วิญญาณขันธ์+วิญญาณ(?) what?) แต่เราสามารถรับรู้การทำงานของระบบความรู้สึกได้ผ่านความรู้สึกที่ถูกแสดงออกมา รับรู้การทำงานของระบบความจำผ่านความคิดเกี่ยวกับเรื่องราวในอดีตที่เกิดขึ้น รับรู้การทำงานของระบบความคิดปรุงแต่งผ่านความคิดเกี่ยวกับอนาคตที่เกิดขึ้น และรับรู้การทำงานของระบบการรับรู้ผ่านความสามารถในการรับรู้รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความรู้สึก และความคิดในแต่ละขณะ (ตัวที่ไปรับรู้สิ่งพวกนี้คือวิญญาณขันธ์ตัวใหม่ป่ะ?) ซึ่งเครื่องมือที่จำเป็นต่อการเห็นการทำงานของระบบนามธรรมพวกนี้คือสติและสมาธิ จำเป็นที่จะต้องมีกำลังสมาธิที่สูงมากพอที่จะจดจ่ออยู่กับการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปของสิ่งเหล่านี้ได้ จึงจะรู้แจ้งว่าสิ่งพวกนี้มีธรรมชาติคือการเปลี่ยนแปลงและแตกสลาย

หากพิจารณาดูดี ๆ จะสังเกตเห็นว่าความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับแต่ละองค์ประกอบของชีวิตมักเป็นไปในทางเสื่อม (แย่ลง) นั่นเป็นเพราะว่าสุดท้ายแล้วมันต้องแตกสลายนั่นเอง

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงและแตกสลายนี่แหละ ที่นำมาซึ่ง "ความรู้สึกทุกข์ทางใจ {ทุกขเวทนา}" นานาประการ

ระบบร่างกาย 

(เปลี่ยนแปลง) ผิวหนังเหี่ยวย่นก็รู้สึกทุกข์ ปวดเมื่อยแข้งขาก็รู้สึกทุกข์ เจ็บป่วยเป็นโรคก็รู้สึกทุกข์

(แตกสลาย) คนที่รักตายก็รู้สึกทุกข์ เราตายเองก็รู้สึกทุกข์เพราะต้องพรากจากสิ่งที่รัก

ทุกขสัจจะ

ในสังสารวัฏนี้ มีแต่ทุกข์ที่เกิดขึ้น มีแต่ทุกข์ที่ตั้งอยู่ มีแต่ทุกข์ที่ดับไป



  • ชีวิตต้องเป็นทุกข์ / ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องมีในชีวิต / ทุกข์เป็นเรื่องธรรมดาของชีวิต เพราะชีวิตเป็นทุกข์
  • ลักษณะ “ทุกข์” เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกทุกข์
  • เพราะสรรพสิ่งล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้เกิดการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก

ความจริง #2: สาเหตุของความทุกข์คือ "ความอยากมีทุกข์" และ "ความไม่อยากมีทุกข์" (ความไม่รู้เหตุให้ทุกข์เกิด)

ความจริง #3: ทุกข์สามารถดับไปได้ด้วยตัวมันเอง (ความไม่รู้ในความดับทุกข์)

ความจริง #4: วิธีการดับทุกข์ มีดังนี้... (ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)

(ความไม่รู้ในส่วนอดีต)

(ความไม่รู้ในส่วนอนาคต)

(ความไม่รู้ในส่วนอดีตและอนาคต)

(ความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท)


To be continued... 

📢ขณะนี้ผู้เขียนกำลังใช้โอกาสในการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ในการศึกษาความจริงของโลกใบนี้ตามคำบอกเล่าของพระพุทธเจ้า และตั้งใจว่าจะนำความจริงเหล่านั้นมาเผยแพร่ในเว็บนี้ 

ผู้เขียนเป็นเพียงมนุษย์คนหนึ่งที่ยังมิได้เห็นแจ้งในความเป็นจริงของสรรพสิ่ง หากมีเนื้อหาส่วนใดผิดพลาดไป ผู้เขียนขออภัยมา ณ ที่นี้ และจะเป็นเมตตาอย่างมาก หากท่านผู้อ่านชี้แจงแถลงไขส่วนที่ผิดพลาดนั้นมาในช่องคอมเมนต์ด้านล่าง ☟

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ความจริงของชีวิต